วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

แคมฟรอก


แคมฟรอก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Camfrog logo.gif
Camfrog screen capture.jpg
ภาพหน้าจอแคมฟรอกไคลเอนต์
ผู้พัฒนาแคมแชร์ (Camshare)
รุ่นเสถียร6.1.146 / สิงหาคม 24, 2011; 128 เดือนก่อน
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ XP และ แมคโอเอส X
ประเภทVoIP
ลิขสิทธิ์ฟรีแวร์ และ ลิขสิทธิ์บริษัท
เว็บไซต์www.camfrog.com
แคมฟรอก (Camfrog) เป็นซอฟต์แวร์ของบริษัทแคมแชร์ (Camshare) สามารถให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนภาพจากเว็บแคมและเสียงผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยโปรแกรมนี้สามารถใช้ให้มีการประชุมออนไลน์ได้หลายคนพร้อมกัน แคมฟรอกแตกต่างจากโปรแกรมทั่วไปโดยผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมบนเซิร์ฟเวอร์ของตัวเองได้ ในปัจจุบัน แคมฟรอกมีการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิด และการแสดงวิดีโอ หลายอย่างรวมถึงเรื่อง การท่องเที่ยว กีฬา ภาษา วัฒนธรรม เล่นเกมตอบปัญหาออนไลน์ แม้แต่เรื่องทางเพศ หรือการร่วมเพศออนไลน์ ในแคมฟรอก
แคมฟรอกมีการใช้งานแบ่งออกเป็นห้องโดยแต่ละห้องจะแบ่งออกตามหัวข้อในการสนทนา เช่นห้องสำหรับพูดคุยภาษาอังกฤษ ภาษาอิตาลี ภาษาเยอรมัน สำหรับฝึกภาษา ซึ่งรวมไปถึงภาษามือสำหรับคนพิการที่มีการเปิดไว้ให้คนพิการได้มีโอกาสคุยกันออนไลน์หลายห้อง นอกจากนี้ยังมีห้องสำหรับพูดคุยเรื่องเพลง หรือเล่าเรื่องผี อย่างไรก็ตามการใช้งานส่วนใหญ่ในแคมฟรอกเป็นการใช้งานสำหรับชมและแสดงลามกทางอินเทอร์เน็ต ในประเทศไทย คนไทยเป็นกลุ่มผู้ใช้บริการโปรแกรมแคมฟรอกมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก [1] โดยส่วนหนึ่งใช้เพื่อรับชมการแสดงลามกอนาจารทางอินเทอร์เน็ต หรือไม่ก็แสดงลามกเสียเอง[2]
แคมฟรอกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมากในประเทศไทยระยะหนึ่ง โดยเฉพาะการใช้แคมฟรอกในทางลามกอนาจาร จึงได้มีข่าวออกมาว่าทางกระทรวงไอซีทีพยายามห้ามการใช้งานแคมฟรอกในประเทศไทย โดยเห็นว่าแคมฟรอกสามารถก่อให้เกิดปัญหาการค้าประเวณีในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการแสดงลามกแลกกับเงินหรือรหัสบัตรเติมเงิน หรือสิ่งของอื่น หรือการติดต่อซื้อขายบริการทางเพศผ่านโปรแกรมแคมฟรอก
ในปัจจุบัน CamfrogThailand ได้ร่วมมือกับทาง ICT แก้ปัญหาการโชว์ลามกอนาจาร โดยการ จัดแยกโซนของไทยแลนด์ออกมา และทำการ ล๊อค IP Address ของผู้เล่นที่มาจากประเทศไทย ให้ไม่สามารถไปยังโซนอื่นๆได้นอกจากโซน Thailand หรือมองเห็นโซน 18+ นอกเสียจากจะต้องเสียเงินซื้อโค๊ดพิเศษมาใช้มี มีเจ้าหน้าที่ มาดูแลรหัสผู้เล่น ThailandTOS (TOS ย่อมาจาก Term Of Service) มาควบคุมดูแลห้องแคมฟรอกเฉพาะโซนไทย
ลักษณะการทำงานของ เจ้าหน้าที่ ThailandTOS เจ้าหน้าที่ สามารถที่จะทำการ ปิดห้อง สนทนาที่พบว่ามีการโชว์ลามกอนาจาร และ แบนไอดีที่ทำการโชว์ลามกอนาจาร พร้อมกับ การแบนโค๊ดในการเปิดห้องสนทนานั้นๆทิ้ง ซึ่งโค๊ดที่กล่าวมาข้างต้นนี้ หากไม่มีการซื้อก็จะไม่สามารถเปิดห้องสนทนาได้ เพื่อให้เจ้าของห้องมีสามัญ สำนึกและเกรงกลัวต่อการโชว์ลามกอนาจารเพิ่มขึ้น

[แก้]ซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์ของแคมฟรอกแบ่งออกเป็นสองส่วนหลักคือซอฟต์แวร์ สำหรับการติดตั้งแคมฟรอกลงบนเซิร์ฟเวอร์ของตนเอง และซอฟต์แวร์ของไคลเอนต์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อดูภาพผ่านทางเซิร์ฟเวอร์นั้น นอกจากนี้ทางแคมฟรอกยังมีซอฟต์แวร์อื่นได้ แคมฟรอกเว็บและแคมฟรอกทูลบาร์
แคมฟรอกไคลเอนต์ 
แคมฟรอกไคลเอนต์เป็นซอฟต์แวร์ที่ให้ผู้ใช้ทั่วไปเชื่อมต่อเข้ากับผู้ใช้อื่นผ่านทางเซิร์ฟเวอร์ โดยผู้ใช้เมื่อดาวน์โหลดและลงทะเบียนการใช้งานสามารถใช้งานได้ทันที โดยการเลือกเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการเข้าชม โดยสามารถให้ผู้ใช้เชื่อมต่อผ่านทางเว็บแคมสำหรับแสดงผลหรือเข้าชมได้ และสามารถทำงานผ่านไฟร์วอลล์ หรือเราเตอร์ได้ แคมฟรอกไคลเอนต์แบ่งออกเป็นสองรุ่น โดยรุ่นที่ใช้งานได้ฟรีและรุ่นที่ที่ต้องเสียเงินใช้ ซึ่งมีความสามารถพิเศษเพิ่มเข้ามา เช่นสามารถดูวิดีโอขนาดใหญ่ หรือดูวิดีโอหลายหน้าจอพร้อมกันได้
แคมฟรอกเซิร์ฟเวอร์ 
แคมฟรอกเซิร์ฟเวอร์เป็นซอฟต์แวร์ให้ผู้ใช้ติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ของตนเองให้ผู้ใช้คนอื่นได้เข้ามาใช้งาน โดยผู้ติดตั้งสามารถเป็นผู้ควบคุมระบบของเซิร์ฟเวอร์นั้น เช่น จำกัดผู้ใช้งาน ระบุจำนวนผู้ใช้งานได้ แคมฟรอกเซิร์ฟเวอร์แบ่งออกเป็นสองรุ่นคือ รุ่นฟรีและรุ่นที่ต้องเสียเงิน
แคมฟรอกเว็บ 
แคมฟรอกเว็บเป็นโปรแกรมติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์ให้ผู้ใช้สามารถประชุมออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ได้ โดยผู้ใช้งานสามารถใช้งานผ่านทางเว็บไซต์โดยตรงแตกต่างกับรุ่นแคมฟรอกเซิร์ฟเวอร์ที่ผู้ใช้จำเป็นต้องใช้งานผ่านทางซอฟต์แวร์ไคลเอนต์
แคมฟรอกทูลบาร์ 
แคมฟรอกทูลบาร์เป็นโปรแกรมเสริมสำหรับติดตั้งบนเว็บเบราว์เซอร์ สำหรับค้นหารายชื่อเซิร์ฟเวอร์หรือค้นหาผู้ใช้งานที่ออนไลน์อยู่ สำหรับติดตั้งกับไฟร์ฟอกซ์และอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์

[แก้]อ้างอิง

[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น

  • เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
  • เว็บไซต์ขาย100จออย่างเป็นทางการ
  • เจ้าของห้องแคมฟรอกมอบตัว อ้างไม่มีเจตนาเปิดโชว์ลามก ข่าวจากไทยรัฐ
  • การ์ตูนล้อเลียน แคมฟรอก จากไทยรัฐ
  • แคมฟรอก แพลเนต จากกระปุก.คอม
  • มองมุม 'Camfrog' แบบชัดลึก คำเตือน : อายุต่ำกว่า 18 ปี ห้ามเข้า จาก GotoKnow
  • โหลด camfrogดาวน์โหลด camfrog เวอร์ชั่นล่าสุดฟรี
  • สอนวิธีเล่น camfrog

    บทความโดย :Administrator เขียนเมื่อ : 3 / มี.ค. / 2555

    วิธีเล่น camfrog

    นั้นเราจะต้องติดตั้งโปรแกรม camfrog ก่อนแล้วจากนั้นก็ทำการสมัครสมาชิกเข้าใช้งานโปรแกรม ถ้าใครยังไม่มี หรือยังไม่ได้ลงโปรแกรมคลิก(ตาม link ข้างล่าง) >>วิธีลงโปรแกรม + โหลดโปรแกรม<< หลังการที่เราทำการ การ install program เสร็จเราก็ กรอกรายละเอียดข้อมูลตามรูปภาพครับ  
      เลือกเราสมัครเสร็จแล้วก็จะเข้ามาหน้า login จากนั้น ทำการกด login  
      รอสักครู่
      เมื่อ sign in ผ่านเสร็จแล้วจะปรากฏหน้าจอข้างล่างนะค่ะ จากภาพก็ป็นวิธีการใช้งานทั่วไป ซึ่งเป็นภาษาไทยเราสามารถเข้าใจได้ง่ายเลยครับ ถ้าเราต้องการ จะเล่นห้องไหน ก็สามารถค้นหาได้ หรือเลือกที่ขึ้นมา เลือกประเทศไทยด้วยนะครับ รายชื่อห้องของไทยก็จะออกมา แล้วเลือกมาสัก 1 ห้อง    เมื่อเราเลือกเข้าห้องมาแล้ว หน้าตาก็จะคล้ายๆกับ Chat room ทั่วไปโดยมีรายชื่อสมาชิกอยู่ข้างๆ ถ้าต้องการคุยแบบตัวต่อตัวก็สามารถทำได้ครับ    การส่องกล้อง camfrog สามารถส่องได้เพียง 1 กล้องเท่านั้นนะครับถ้าอยากดู 100 จอต้องเสียเงินครับ      สีของชื่อนั้นจะขึ้นอยู่กับแต่ละห้องนะค่ะ แต่งตั้งโดย Owner ของห้องนะค่ะ สีดำ คือ User ทั่วไป สีน้ำเงิน คือ เพื่อน สีเขียว คือ ผู้ดูแลห้อง สีแดง คือ Owner
      โปรแกรมแคมฟร็อกมีข้อดีหลายประการ ด้านหนึ่งทำให้คนพิการอย่างคนใบ้สามารถสนทนาผ่านภาษามือได้อย่างง่ายดาย ทำให้เพื่อนสนิทมิตรสหายที่อยู่ห่างไกลคนละมุมโลก ได้ใกล้ชิดกันมากกว่าที่เคย และเช่นเดียวกับโปรแกรมแชทอื่น ๆ ที่นี่ยังเหมาะสำหรับการฝึกฝนภาษาต่างประเทศได้ดีอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ทุกสิ่งทุกอย่างมีลักษณะของเหรียญ 2 ด้านในตัวเองเสมอ นอกจากด้านดีแล้ว ด้านลบของเทคโนโลยีอันล้ำสมัยนี้ คือการถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ภาพลามกอนาจาร ซึ่งกลายมาเป็นแม่เหล็กที่ดึงดูดผู้คนทั่วโลก ทั้งชายและหญิง โดยเฉพาะเยาวชนให้หันมาหมกมุ่นกับเรื่องนี้ในระดับที่เกินพอดีมากขึ้นไปทุกที จากสถานะซอฟต์แวร์สำหรับการแชทผ่านเว็บแคมปกติ แคมฟร็อก ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นเว็บลามกอนาจารไปทีละน้อย อีกทั้งตัวเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมา ได้เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถสร้างห้องหับส่วนตัว จัดโปรแกรมเนื้อหาได้อย่างเป็นอิสระ มีดีเจค่อยกระตุ้นเร่งเร้าความสนใจ ยิ่งทำให้ แคมฟร็อก กลายเป็นเว็บอันเดอร์กราวนด์สุดฮอตฮิตในหมู่วัยรุ่นในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาแล้ว แคมฟร็อก ก็กลายเป็นอีกหนึ่งข่าวที่สร้างความฮือฮาในสังคมไทยเวลานี้ เมื่อ ปรเมศวร์ มินศิริ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตสีขาวเพื่อเยาวชน ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่า คนไทยนิยมใช้โปรแกรมนี้เป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกาและจีน ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับเสียงสะท้อนจากบรรดานักเรียนนักศึกษาว่า ปัจจุบันโปรแกรมนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างสูง ไม่เพียงเท่านั้นยังมีตัวเลขที่ยืนยันได้ว่า มีผู้ใช้บริการทั้งชมและโชว์แคมฟร็อกในหมู่ชาวไทยนับแสนคน

               ทั้งที่เรื่องราวลุกลามมาถึงขั้นนี้แล้ว แต่น่าแปลกใจตรงที่ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองนี้ ตั้งแต่ศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม (ซึ่งปัจจุบันกำลังยกระดับความสำคัญของหน่วยงานขึ้นมา) ไปจนถึงกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ยังเคลื่อนไหวค่อนข้างล่าช้า กับการหามาตรการมาแก้ปัญหาดังกล่าว และเอาเข้าจริงๆ เรื่องนี้อาจจะเหมือนกับภัยจากอินเทอร์เน็ตอื่นๆ กล่าวคือ 'กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้' ไปเสียก่อนแล้ว ดังนั้น สิ่งที่ผู้ห่วงใยหลายๆ ฝ่ายต้องช่วยกันจับตามอง คือ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ว่าจะมีรายละเอียดเช่นใด ทั้งในเรื่องของตัวบทบัญญัติ ข้อห้าม และบทลงโทษ แม้กฎหมาย จะไม่สามารถป้องกันเหตุได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยก็ป้องปรามมิให้มีการแพร่หลายเกินควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากจัดว่า แคมฟร็อก เป็นโปรแกรมที่ไม่เป็นมิตรกับเยาวชน ก็ไม่ควรมีการใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะทั้งหลาย เหนือจากเรื่องของกฎหมายแล้ว ทุกๆ ครอบครัวต้องช่วยกันดูแลสมาชิกตัวน้อย ซึ่งโอกาสจะได้รับพิษภัยจากโปรแกรมรุ่นใหม่นั้น กำลังมีมากขึ้น ในอัตราความเร็วเพิ่มขึ้นกว่าที่คุณคาดคิด.ปัญหาการใช้แคมฟร็อกอย่างไม่สร้างสรรค์"แคมฟร็อก" อาจเสมอเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งที่โผล่ขึ้นมาให้เห็นเท่านั้น ขณะที่ส่วนฐานอันใหญ่โตกว้างไกลเกินประมาณนั้น ยังอยู่ข้างใต้พ้นจากสายตา โลกทุกวันนี้ก้าวพ้นจากยุคอ่านหนังสือ ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ มาไกลแล้ว อินเตอร์เน็ตกำลังเป็นปัจจัยที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ อินเตอร์เน็ตถูกนำใช้แทนการค้นคว้าในห้องสมุด ใช้ฟังเพลงแทนวิทยุทั้งจากสถานีในประเทศ และไกลไปถึงสถานีเพลงดี ๆจากต่างประเทศ (ซึ่งเป็นสิ่งที่วิทยุตามบ้านทำไม่ได้ด้วยซ้ำ) ใช้เป็นเครื่องรับทีวีได้ แถมดูรายการย้อนหลังก็ได้ ซึ่งก็เช่นเดียวกับวิทยุ ที่รับสัญญาณทีวีได้ทั้งจากเมืองไทยและเมืองนอก การแพร่หลายของอินเตอร์เน็ต ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญให้ระบบสื่อสารล้าสมัยบางประเภทต้องสูญพันธุ์ไปจากโลกในไม่ช้า (เช่น ตะแล้ปแก๊ป-โทรเลข) จดหมายลงทะเบียน ใช้เวลาอย่างต่ำ 1 วันถึงผู้รับ แต่อี-เมล์ ใช้เวลาลัดนิ้วมือเดียว แค่คลิกปุ๊บ มันก็ไปโผล่ปลายทางปั๊บที่รวดเร็วเหนือชั้นยิ่งกว่าอี-เมล์ ยังมีระบบการสื่อสารแบบ"เรียลไทม์"อย่างเอ็มเอสเอ็น สามารถพูดคุยสนทนากันผ่านตัวหนังสือกันแบบสดๆ รวมทั้งติดตั้งกล้องเพื่อเห็นหน้ากันก็ทำได้ เทคโนโลยีที่เติบโตอย่างพรวดพราด และเต็มไปด้วยความเร้าใจของการสื่อสารยุคใหม่นี้ เป็นตัวการดึงดูดเยาวชนให้หันมาคลั่งไคล้อินเตอร์เน็ตราวกับติดยา ถ้าไม่ใช้เน็ตพูดคุยกัน ก็ใช้เน็ตในการท่องเว็บลามก ซึ่งไม่ต้องเสียเงินซื้อสักบาท แถมเรตติ้งยังหนักกว่านิตยสารปลุกใจเสือป่าประเภท "นวลนาง" หรือ FHM เป็นไหนๆ ไม่ก็ต่อออนไลน์ เล่นเกมสู้กับใครก็ไม่รู้ จากที่ไหนสักแห่งในโลก อย่างที่มีการเผยผลสำรวจการใช้อินเตอร์เน็ตของเด็กไทย ก็พบว่าใช้เพื่อความบันเทิง 30% แต่ใช้เพื่อศึกษาหาความรู้แค่ 2% เท่านั้นอินเตอร์เน็ตเป็นภาคหนึ่งของสังคมวัตถุนิยมในยุคดิจิตอล มันสร้างค่านิยมในแบบที่โลกยุคก่อนนี้ (ไม่ต้องนานมาก สัก 20 ปีก่อนก็พอ) ไม่เคยมี อยากได้ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือตอบสนอง เช่นนักศึกษาเห็นเพื่อนมีกระเป๋าแบรนด์เนมใช้ ตัวเองก็ใช้ทางลัด ประกาศขายตัวทางอินเตอร์เน็ตดื้อๆ รับค่าตัวเต็มๆ ไม่ต้องมีแมงดามารีดไถส่วนแบ่งแบบซ่องโบราณเกิดอารมณ์วิปริตอยากโชว์ของสงวน (ส่วนหนึ่งเพราะอยากเป็นที่ชื่นชมยอมรับของผู้คน) ก็ไปแก้ผ้าโชว์ในแคมฟร็อก

ชนิดของคอมพิวเตอร์


ชนิดของคอมพิวเตอร์


                    ไมโครคอมพิวเตอร์
 (Microcomputer)

       
        ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก
 บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรือเรียกว่า พีซี (Personal Computer : PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นในเครือข่าย อาจจะกล่าวได้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ใช้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้ สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้

            คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะ มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแผงแป้งอักขระ 


            แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (laptop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่วางใช้งานบนตักได้ จอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบชนิดจอภาพผนึกเหลว (Liquid Crystal Display : LCD) น้ำหนักของเครื่องประมาณ 3-กิโลกรัม 


            โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (notebook computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและความหนามากกว่าแล็ปท็อป น้ำหนักประมาณ 1.5-กิโลกรัม จอภาพแสดงผลเป็นแบบราบชนิดมีทั้งแบบแสดงผลสีเดียว หรือแบบหลายสี โน้ตบุ๊คที่มีขายทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเหมือน กับแล็ปท็อป


            ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (palmtop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง เช่นเป็นพจนานุกรม เป็นสมุดจนบันทึกประจำวัน บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูลเฉพาะบางอย่างที่สามารถพกพาติดตัวไปมาได้สะดวก



                    สถานีงานวิศวกรรม (engineering workstation)


        ผู้ใช้สถานีงานวิศวกรรมส่วนใหญ่เป็นวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ สถาปนิก และนักออกแบบ สถานีงานวิศวกรรมมีจุดเด่นในเรื่องกราฟิก การสร้างรูปภาพและการทำภาพเคลื่อนไหว การเชื่อมโยงสถานีงานวิศวกรรมรวมกันเป็นเครือข่ายทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์หลายบริษัทได้พัฒนาซอฟต์แวร์สำเร็จสำหรับใช้กับสถานีงานวิศวกรรมขึ้น เช่นโปรแกรมการจัดทำต้นฉบับหนังสือ การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์งานจำลองและคำนวณทางวิทยาศาสตร์ งานออกแบบทางด้านวิศวกรรมและการควบคุมเครื่องจักร การซื้อสถานีงานวิศวกรรมต่างจากการซื้อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถใช้โปรแกรมสำเร็จสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ได้ และมีลักษณะการใช้งานเหมือนกัน ส่วนการซื้อสถานีงานวิศวกรรมนั้นยุ่งยากกว่า สถานีงานวิศวกรรมมีราคาแพงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์มาก การใช้งานก็ต้องการบุคลากรที่มีการฝึกหัดมาอย่างดี หรือต้องใช้เวลาเรียนรู้  สถานีงานวิศวกรรมส่วนใหญ่ใช้ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์ ประสิทธิภาพของซีพียูของระบบอยู่ในช่วง 50-100 ล้านคำสั่งต่อวินาที (Million Instruction Per Second : MIPS) อย่างไรก็ตามหลักจากที่ใช้ซีพียูแบบริสก์ (Reduced Instruction Set Computer :RISC) ก็สามารถเพิ่มขีดความสามารถเชิงคำนวณของซีพียูสูงขึ้นได้อีก ทำให้สร้างสถานีงานวิศวกรรมให้มีขีดความสามารถเชิงคำนวณได้มากกว่า 100 ล้านคำสั่งต่อวินาที
IBMrs6000




                    มินิคอมพิวเตอร์ (mini computer)
        มินิคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องที่สามารถใช้งานพร้อม
 ๆ กันได้หลายคน จึงมีเครื่องปลายทางต่อได้ มินิคอมพิวเตอร์เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงกว่าสถานีงานวิศวกรรม นำมาใช้สำหรับประมวลผลในงานสารสนเทศขององค์การขนาดกลาง จนถึงองค์การขนาดใหญ่ที่มีการวางระบบเป็นเครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกัน เช่น งานบัญชีและการเงิน งานออกแบบทางวิศวกรรม งานควบคุมการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม มินิคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณืที่สำคัญในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การที่เรียกว่าเครื่อให้บริการ (server) มีหน้าที่ให้บริการกับผู้ใช้บริการ (client) เช่น ให้บริการแฟ้มข้อมูล ให้บริการข้อมูล ให้บริการช่วยในการคำนวณ และการสื่อสาร 
minie3500



                    เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (
mainframe computer)


        เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการพัฒนามาตั้งแต่เริ่มแรก
 เหตุที่เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เพราะตัวเครื่องประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่ที่ภายในตู้มีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมนเฟรมคอมพิวเตอร์มีขนาดลดลงมาก 
เมนเฟรมเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงมาก
 มักอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์หลักขององค์การ และต้องอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี         บริษัทผู้ผลิตเมนเฟรมได้พัฒนาขีดความสามารถของเครื่องให้สูงขึ้น ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไปเป็นจำนวนมาก เช่น ระบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลที่จัดการโดยเครื่องเมนเฟรม อย่างไรก็ตามขนาดของเมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์ก็ยากที่จะจำแนกจากกันให้เห็นชัด ปัจจุบันเมนเฟรมได้รับความนิยมน้อยลง ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมีประสิทธิภาพและความสามารถดีขึ้น ราคาถูกลง ขณะเดียวกันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ดีขึ้นจนทำให้การใช้งานบนเครือข่ายกระทำได้เหมือนการใช้งานบนเมนเฟรม 
 mainframe computer
mainframe computer



                    ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (super computer)       
        ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องมีการคำนวณตัวเลขจำนวนหลายล้านตัวภายในเวลาอันรวดเร็ว
 เช่น งานพยากรณ์อากาศ ที่ต้องนำข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอากาศทั้งระดับภาคพื้นดิน และระดับชึ้นบรรยากาศเพื่อดูการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของอากาศ งานนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก นอกจากนี้มีงานอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ซึ่งมีความเร็วสูง เช่น งานควบคุมขีปนาวุะ งานควบคุมทางอวกาศงานประมวลผลภาพทางการแพทย์ งานด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านเคมี เภสัชวิทยา และงานด้านวิศวกรรมการออกแบบ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว และมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น การที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว เพราะมีการพัฒนาให้มีโครงสร้างการคำนวณพิเศษ เช่นการคำนวณแบบขนานที่เรียกว่า เอ็มพีพี (Massively Parallel Processing : MPP) ซึ่งเป็นการคำนวณที่กระทำกับข้อมูลหลาย ๆ ตัวในเวลาเดียวกัน 
super coomputer
super computer

ความหมายของสื่อ

ความหมายของสื่อ
เมื่อพิจารณาคำว่า "สื่อ" ในภาษาไทยกับคำในภาษาอังกฤษ พบว่ามีความหมายตรงกับคำว่า "media" (ในกรณีที่มีความหมายเป็นเอกพจน์จะใช้คำว่า "medium")
คำว่า "สื่อ" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ ความหมายของคำนี้ไว้ดังนี้ "สื่อ (กริยา) หมายถึง ติดต่อให้ถึงกัน เช่น สื่อความหมาย, ชักนำให้รู้จักกัน สื่อ (นาม) หมายถึง ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน เช่น เขาใช้จดหมายเป็นสื่อติดต่อกัน, เรียกผู้ที่ทำหน้าที่ชักนำใหชายหญิงได้แต่งงานกันว่า พ่อสื่อ หรือ แม่สื่อ; (ศิลปะ) วัสดุต่างๆ ที่นำมาสร้างสรรค์งานศิลปกรรม ให้มีความหมายตามแนวคิด ซึ่งศิลปินประสงค์แสดงออกเช่นนั้น เช่น สื่อผสม"

นักเทคโนโลยีการศึกษาได้มีการนิยามความหมายของคำว่า "สื่อ" ไว้ดังต่อไปนี้
Heinich และคณะ (1996) Heinich เป็นศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีระบบการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยอินเดียน่า (Indiana University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "Media is a channel of communication." ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "สื่อ คือช่องทางในการติดต่อสื่อสาร" Heinich และคณะยังได้ขยายความเพิ่มเติมอีกว่า "media มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน มีความหมายว่า ระหว่าง (between) หมายถึง อะไรก็ตามซึ่งทำการบรรทุกหรือนำพาข้อมูลหรือสารสนเทศ สื่อเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างแหล่งกำเนิดสารกับผู้รับสาร"
A. J. Romiszowski (1992) ศาสตราจารย์ทางด้านการออกแบบ การพัฒนา และการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ (Syracuse University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "the carriers of messages, from some transmitting source (which may be a human being or an inanimate object) to the receiver of the message (which in our case is the learner)" ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "ตัวนำสารจากแหล่งกำเนิดของการสื่อสาร (ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์ หรือวัตถุที่ไม่มีชีวิต ) ไปยังผู้รับสาร (ซึ่งในกรณีของการเรียนการสอนก็คือ ผู้เรียน)"
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า
 สื่อ หมายถึง สิ่งใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางระหว่างแหล่งกำเนิดของสารกับผู้รับสาร เป็นสิ่งที่นำพาสารจากแหล่งกำเนินไปยังผู้รับสาร เพื่อให้เกิดผลใดๆ ตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร

เครือข่ายคอมพิวเตอร์


เครือข่ายคอมพิวเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนผังการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (อังกฤษcomputer network; ศัพท์บัญญัติว่า ข่ายงานคอมพิวเตอร์) คือระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง
การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผลหน่วยความจำ,หน่วยจัดเก็บข้อมูลโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ(scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้

[แก้]ชนิดของเครือข่าย

เครือข่าย เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกัน เพื่อสะดวกต่อการร่วมใช้ข้อมูล, โปรแกรม หรือเครื่องพิมพ์ และยังสามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องได้ตลอดเวลา ระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 5 แบบ ได้แก่
  • เครือข่ายภายใน หรือ แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน
  • เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร
  • เครือข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ แมน (Metropolitan area network : MAN)
  • เครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ แคน (Controller area network) : CAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller unit: MCU)
  • เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN) เป็นเครือข่ายระหว่างอุปกรณ์เคลื่อนที่ส่วนบุคคล เช่น โน้ตบุ๊ก มือถือ อาจมีสายหรือไร้สายก็ได้

[แก้]

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนผังการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (อังกฤษcomputer network; ศัพท์บัญญัติว่า ข่ายงานคอมพิวเตอร์) คือระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง
การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผลหน่วยความจำ,หน่วยจัดเก็บข้อมูลโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ(scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้

[แก้]ชนิดของเครือข่าย

เครือข่าย เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกัน เพื่อสะดวกต่อการร่วมใช้ข้อมูล, โปรแกรม หรือเครื่องพิมพ์ และยังสามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องได้ตลอดเวลา ระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 5 แบบ ได้แก่
  • เครือข่ายภายใน หรือ แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน
  • เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร
  • เครือข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ แมน (Metropolitan area network : MAN)
  • เครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ แคน (Controller area network) : CAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller unit: MCU)
  • เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN) เป็นเครือข่ายระหว่างอุปกรณ์เคลื่อนที่ส่วนบุคคล เช่น โน้ตบุ๊ก มือถือ อาจมีสายหรือไร้สายก็ได้

[แก้]อุปกรณ์เครือข่าย

  • เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครืองแม่ข่าย เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักในเครือข่าย ที่ทำหน้าที่จัดเก็บและให้บริการไฟล์ข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ใน เครือข่าย โดยปกติคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์มักจะเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูง และมีฮาร์ดดิกส์ความจำสูงกว่าคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย
  • ไคลเอนต์ (Client) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องลูกข่าย เป็นคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่ร้องขอ บริการและเข้าถึงไฟล์ข้อมูลที่จัดเก็บในเซิร์ฟเวอร์ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ไคลเอนต์ เป็นคอมพิวเตอร์ ของผู้ใช้แต่ละคนในระบบเครือข่าย
  • ฮับ (HUB) หรือ เรียก รีพีตเตอร์ (Repeater) คืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มคอมพิวเตอร์ ฮับ มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่ง ไปยังพอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับจะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย เพราะฉะนั้นถ้ามีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากจะทำให้อัตราการส่งข้อมูลลดลง
  • สวิตช์ (Switch) คืออุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ในเรเยอร์ที่ 2 และทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังพอร์ตเฉพาะที่เป็นปลายทางเท่านั้น และทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือส่งข้อมูลถึงกันในเวลาเดียวกัน ดังนั้น อัตราการรับส่งข้อมูลหรือแบนด์วิธจึงไม่ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันนิยมเชื่อมต่อแบบนี้มากกว่าฮับเพราะลดปัญหาการชนกันของข้อมูล
  • เราเตอร์ (Router)เป็นอุปรณ์ที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 3 เราท์เตอร์จะอ่านที่อยู่ (Address) ของสถานีปลายทางที่ส่วนหัว (Header) ข้อแพ็กเก็ตข้อมูล เพื่อที่จะกำหนดและส่งแพ็กเก็ตต่อไป เราท์เตอร์จะมีตัวจัดเส้นทางในแพ็กเก็ต เรียกว่า เราติ้งเทเบิ์ล (Routing Table) หรือตารางจัดเส้นทางนอกจากนี้ยังส่งข้อมูลไปยังเครือาข่ายที่ให้โพรโทคอลต่างกันได้ เช่น IP (Internet Protocol) , IPX (Internet Package Exchange) และ AppleTalk นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  • บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments) เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบ ไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่าน ไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layer จึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Eternet กับ Token Ring เป็นต้น
บริดจ์ มักจะถูกใช้ในการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ ในองค์กรเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายใหญ่ เพียงเครือข่ายเดียว เพื่อให้เครือข่ายย่อยๆ เหล่านั้นสามารถติดต่อกับเครือข่ายย่อยอื่นๆ ได้
  • เกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี (PC) เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC) เป็นต้น
  • เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครืองแม่ข่าย เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักในเครือข่าย ที่ทำหน้าที่จัดเก็บและให้บริการไฟล์ข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ใน เครือข่าย โดยปกติคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์มักจะเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูง และมีฮาร์ดดิกส์ความจำสูงกว่าคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย
  • ไคลเอนต์ (Client) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องลูกข่าย เป็นคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่ร้องขอ บริการและเข้าถึงไฟล์ข้อมูลที่จัดเก็บในเซิร์ฟเวอร์ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ไคลเอนต์ เป็นคอมพิวเตอร์ ของผู้ใช้แต่ละคนในระบบเครือข่าย
  • ฮับ (HUB) หรือ เรียก รีพีตเตอร์ (Repeater) คืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มคอมพิวเตอร์ ฮับ มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่ง ไปยังพอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับจะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย เพราะฉะนั้นถ้ามีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากจะทำให้อัตราการส่งข้อมูลลดลง
  • สวิตช์ (Switch) คืออุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ในเรเยอร์ที่ 2 และทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังพอร์ตเฉพาะที่เป็นปลายทางเท่านั้น และทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือส่งข้อมูลถึงกันในเวลาเดียวกัน ดังนั้น อัตราการรับส่งข้อมูลหรือแบนด์วิธจึงไม่ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันนิยมเชื่อมต่อแบบนี้มากกว่าฮับเพราะลดปัญหาการชนกันของข้อมูล
  • เราเตอร์ (Router)เป็นอุปรณ์ที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 3 เราท์เตอร์จะอ่านที่อยู่ (Address) ของสถานีปลายทางที่ส่วนหัว (Header) ข้อแพ็กเก็ตข้อมูล เพื่อที่จะกำหนดและส่งแพ็กเก็ตต่อไป เราท์เตอร์จะมีตัวจัดเส้นทางในแพ็กเก็ต เรียกว่า เราติ้งเทเบิ์ล (Routing Table) หรือตารางจัดเส้นทางนอกจากนี้ยังส่งข้อมูลไปยังเครือาข่ายที่ให้โพรโทคอลต่างกันได้ เช่น IP (Internet Protocol) , IPX (Internet Package Exchange) และ AppleTalk นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  • บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments) เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบ ไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่าน ไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layer จึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Eternet กับ Token Ring เป็นต้น
บริดจ์ มักจะถูกใช้ในการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ ในองค์กรเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายใหญ่ เพียงเครือข่ายเดียว เพื่อให้เครือข่ายย่อยๆ เหล่านั้นสามารถติดต่อกับเครือข่ายย่อยอื่นๆ ได้
  • เกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี (PC) เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC) เป็นต้น